บันทึกของโปรแกรมเมอร์

Network Attached Storage

VPS vs Cloud VPS เลือกอะไรดี?

Posted by programmer on ตุลาคม 17, 2014

กลุ่มผู้ใช้งาน Virtual Private Server หรือ VPS ก็คงเป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการความเสถียรภาพของระบบที่สูงมากๆแล้ว สิ่งหนึ่งที่จำเป็นที่จะต้องรู้จักและทำความเข้าใจกัน ระหว่าง VPS และ Cloud VPS เป็นอีกปัจจัยสำคัญในระบบเทคโนโลยีการจำลองระบบในปัจจุบันอย่างมาก เพราะว่าคุณอาจจะเลือกผิดก็เป็นได้

ระบบ Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่! ใครๆก็บอกแบบนี้ แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่รู้จัก บางคนรู้จักแต่ก็ไม่เข้าใจการทำงานของมันอย่างลึกซึ้ง บางคนบอกว่าระบบ Cloud ล่มไม่ได้เด็ดขาด (คาดหวังมากเกินไป) หรือบางคนก็บอกว่ามันคือการเอาเซิฟเวอร์มาทำงานร่วมกันแบบพร้อมๆกันได้ จากที่กล่าวมานี้เป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบคลาวด์โดยสิ้นเชิง

นิยามของระบบ Cloud คืออะไร ?

ระบบคลาวด์คือ การนำเอาเซิฟเวอร์หลายๆตัวมาทำงานร่วมกัน และแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ

  1. Processing Server – สำหรับประมวลผลโดยเฉพาะ
  2. Storage Server – สำหรับเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ

โดยตามหลักการของระบบคลาวด์จะต้อง High Availability หมายถึง สามารถพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น Processing Server และ Storage Server ควรจะมีอย่างน้อยๆ 2 ตัวขึ้นไป เมื่อตัวใดตัวหนึ่งเกิดความเสียหาย ระบบก็จะสามารถไปรันอีกตัวได้ทันที

ในส่วนของ Storage Server ควรจะใช้ Server ที่เรียกว่า Storage Attach Network (SAN) แบบ Dual Controller เพราะว่าจะมีระบบ High Availability ในตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สามารถใช้ Storage Server เพียงแค่ 1 ตัวก็ได้ แต่สำหรับ Processing Server จะต้องมี 2 ตัวขึ้นไปอยู่ดี

การทำงานของระบบ Cloud ที่หลายๆคนเข้าใจผิด ?

  • ระบบ Cloud สามารถทำงานบนเซิฟเวอร์ 2 ตัว หรือหลายๆตัวพร้อมๆกันได้ – ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะรวมเอา Hardware หลายๆตัวมาทำงานเสมือนเป็นเพียง 1 ตัวได้
  • ระบบ Cloud จะไม่ล่ม หากเซิฟเวอร์เกิดความเสียหาย – เช่นเดียวกับการทำงานบนเซิฟเวอร์หลายๆตัวเสมือนเซิฟเวอร์ 1 ตัวไม่ได้ เพราะฉะนั้น VM หรือ VPS จะทำงานได้บนเซิฟเวอร์ตัวเดียวเท่านั้น และหากเซิฟเวอร์เสียหาย ถ้าเป็นระบบคลาวด์ ระบบจะย้าย VPS ในเซิฟเวอร์นั้นๆไปรันบนเซิฟเวอร์อื่นๆในระบบได้ทันที แต่สำหรับระบบ VPS ทั่วไปไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้น “ระบบคลาวด์ เซิฟเวอร์ที่มี VPS รันอยู่เกิดความเสียหาย ระบบจะสามารถกลับมาใช้งานได้ภายใน 1 – 5 นาที”
  • ระบบคลาวด์ที่ใช้ NAS ก็เหมือนกับระบบคลาวด์ที่ใช้ SAN – ระบบคลาวด์ที่ใช้ SAN จะมีการปกป้องของข้อมูลอย่างแท้จริง เพราะว่ามี Dual Controller สามารถพังได้ 1 Node (Dual Controller หมายถึง 2 Node) แต่ข้อมูลไม่หาย และระบบก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ แต่ถ้าเป็น Network Attached Storage (NAS) จะมีเพียงแค่ 1 Node เท่านั้น ถึงแม้ว่าจะใช้เซิฟเวอร์ NAS 2 ตัวในระบบคลาวด์ เมื่อเซิฟเวอร์ NAS เสียหาย ระบบก็จะล่มและข้อมูลในเซิฟเวอร์นั้นก็จะไม่สามารถใช้งานได้ด้วย

Cloud VPS vs VPS ควรเลือกบริการแบบใด ?

จากที่ได้อธิบายถึงระบบ Cloud ไปแล้วข้างต้น ระบบคลาวด์จะมีความสามารถของ High Availability ซึ่งระบบ VPS ทั่วๆไปไม่สามารถทำได้ ระบบ VPS ทั่วๆไปจะทำงานบนเซิฟเวอร์เพียง 1 ตัว และจะมี Storage ภายในเซิฟเวอร์นั้นๆ หรือบางที่อาจจะใช้ NAS เข้ามาต่อเพื่อแชร์ Storage ให้กับเซิฟเวอร์แต่ละตัว แต่เมื่อมีเซิฟเวอร์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดความเสียหาย แน่นอนว่าการกู้คืนระบบกลับมาให้ใช้งานได้นั้นต้องใช้เวลานานมากๆ อาจจะ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ไปจนถึง 24 – 48 ชั่วโมงก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น Cloud VPS จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในโลกเทคโนโลยีปัจจุบัน

Posted in: โปรแกรมฟรีมีทั่วไป | Tagged: Cloud, NAS, Network Attached Storage, SAN, Storage Attach Network, คลาวด์

โพสล่าสุดของเรา

  • บริษัทการ์ตูนญี่ปุ่นเตรียมยื่นฟ้อง Cloudflare
  • ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขอลบรูปบน Google Image ได้
  • เหตุที่ Telenor ประกาศถอนตัวจากพม่า
  • โปรโมชั่น Ledger ลด 20% จำนวนจำกัด
  • Google อัพเดต Google Meet ใหม่ ใช้แอพได้พร้อมกัน

ประเภทบทความ

  • เรื่องน่ารู้ (106)
  • โปรแกรมน่าลอง (20)
  • โปรแกรมฟรีมีทั่วไป (54)
  • โหลดเกมส์ฟรี (14)

คำค้นหา

AI Amazon Android Android 5.0 Lollipop Apple ASUS CCleaner Code.org Dr. Unarchiver และ Dr. Cleaner ส่งรหัสผ่านกลับเซิฟเวอร์ Dropbox Facebook Google Google Search GPS HTTPS Huawei IDM IDM FULL Instagram Internet Download Manager iOS Kaspersky KBANK KBANK เปิดตัว KVision KVision Lenovo Lenovo ออกมาปฏิเสธยกเลิกทำแบรนด์ Vibe Line Mercedes-Benz Microsoft Netflix Nintendo Nintendo Switch Samsung Skype Twitter Uber Windows 10 Xiaomi ดาวน์โหลดโปรแกรม สังคมออนไลน์ แบรนด์ Vibe โปรแกรม CCleaner โปรแกรมช่วยโหลด โหลดโปรแกรม

Copyright © 2014 บันทึกของโปรแกรมเมอร์.